Mealy Model ของ เครื่องจักรแบบเมลลี่

คือแบบจำลองของวงจร ซีเควนเชียล จาก 1 ใน 2 ประเภท อีกประเภทหนึ่ง คือ Moore model

ภาพด้านล่างนี้คือ แบบจำลอง  Mealy จะเห็นได้ว่า มี output รวมอยู่กับการเปลี่ยน State จากStateหนึ่ง ไปอีก State หนึ่ง 

เช่น จากState A ไป B จะมีลูกศรเป็นตัวชี้ และที่ลูกศรมีตัวเลขกำกับ 0/1 หมายถึงเมื่อinput เป็น 0 จะให้ output 1 และ Stateเปลี่ยนจาก A ไป B

ซึ่งเราสามารถที่จะนำ Mealy Model มาทำการวิเคราะห์วงจรซีเควนเชียลได้ โดยการวิเคราะห์วงจร ซีเควนเชียล แยกออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน คือ

(แบบที่ 1) วงจร Pulsed synchronous วงจรแบบนี้มี Input เป็น pulse และหน่วยความจำมีนาฬิกาดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่ inputpulse จะเข้าจังหวะ (Synchronous) กับนาฬิกา หรือ ไม่เข้าจังหวะ (Asynchronous) กับนาฬิกาก็ได้ซึ่งทั้งสองกรณี input pulse จะมีผลต่อการเปลี่ยนสถานะต่อไปของวงจร ในช่วงจังหวะที่มี pulseนาฬิกาเท่านั้น

(แบบที่ 2) วงจร Level synchronous วงจรแบบนี้จะรวมถึงวงจรทั้งหมดที่มีหน่วยความจำควบคุมโดยสัญญาณนาฬิกา และสัญญาณ Input เป็น level ไม่ว่า level นั้นจะเข้าจังหวะกับสัญญาณนาฬิกาหรือไม่

(แบบที่ 3) วงจร Pulsed asynchronous ต้องใช้ความรอบคอบเป็นพิเศษ เนื่องจากไม่มี pulse นาฬิกาเป็นตัวกำหนดจังหวะที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของวงจร ดังนั้น State ของวงจรจะเปลี่ยนแปลงทันที เมื่อ input ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลง

(แบบที่ 4) วงจร เลเวลอซิงโครนัสเป็นวงจรที่มี input เป็น level และไม่มี clock ควบคุมหน่วยความจำป็นแบบที่วิเคราะห์ได้ยากที่สุดทำให้เราสามารถวิเคราะห์วงจรลอจิก ต่างๆ โดยหาState table และ Timing diagram ของมันได้


และภาพด้านล่างนี้คือ mealy machine timing diagramตัวอย่างแผนผังเวลาการทำงานของวงจรแต่ละวงจร

ตัวอย่าง :จากตารางสภาวะข้างล่างนี้เป็นรูปแบบของ มิลลี ให้หา

   ก) ผังสภาวะ (state diagram) ข) ASM. Chart ค) คุณลักษณะของ Z (ลำดับของ Z) เมื่อมี Input x เป็นดังนี้ x = 011011 และสภาวะเริ่มต้นอยู่ที่สภาวะ A

วิธีทำ พิจารณาจากตารางสภาวะที่ให้มา จะพบว่าOutput Z จะขึ้นกับทั้ง Input x และ PS (y)โดยที่ Input x = 0, 1 (มี 2 ค่า) ตัวแปรสภาวะ (state) = A, B, C (3 สภาวะ) มักแทนด้วยCode เช่น A = 00, B = 01, C = 10 Output Z = 0, 1 (2 ค่า)

ก) เขียน state diagram ได้ดังนี้

ข) ASM. Chart เขียนได้ดังนี้

ค) หาลำดับของ output Z เมื่อ input x = 011011 และ สภาวะเริ่มต้นที่สภาวะ A∴ เราสามารถแสดงการทำงานได้ดังนี้

เวลา : 1 2 3 4 5 6

Input x : 0 1 1 0 1 1 (6 bit)

สภาวะเริ่มต้น y  : A B A C A C

สภาวะต่อไป Y  : B A C A C C

Output Z  : 1 1 0 0 0 0

ใกล้เคียง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องดนตรีไทย